ญ์

คนขลาด.พูดพล่ามถึงความกล้า
คนต่ำช้า..พูดถึงสมบัติผู้ดี.

ตอลสตอย
[ ผู้กล่าว ]

--------------------------------------

" ข้าพเจ้ามิได้เกิดมาเป็น
นักปราชญ์
ข้าพเจ้าเพียงรักที่จะศึกษาของเก่า และทำงานอย่างหนัก เพื่อเรียนรู้ของเก่าเหล่านั้น."

ขงจื๊อ
[ผู้กล่าว]

 

 

ปรัชญา [ Philosophy ]
ความหมายโดยศัพท์ของคำว่า " ปรัชญา" ตามหนังสือปรัชญาเบื้องต้น ของ ม.รามคำแหง อธิบายไว้ว่า " ปรัชญาหมายถึง ผู้ที่รักความปราดเปรื่อง หรือ ผู้ปราถนาจะเป็นปราชญ์ หรือ ผู้ปราถนาจะฉลาด หรือ ผู้ที่ยังไม่รู้และปราถนาจะรู้มากขึ้น" [ แปลตามรากศัพท์เดิมของคำว่า Philosophy ] หรือถ้าแปลตามพจนานุกรมก็หมายถึง " วิชาที่ว่าด้วยเรื่องความรู้ และ ความจริง "

ผู้ที่คิดค้นความรู้ต่างๆจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในหลักการและเหตุผล บางครั้งเราก็เรียกผู้นั้นว่า " นักปราชญ์ " เมื่อเป็นนักปราชญ์แล้ว อีกคำที่ตามมาก็คือ " ปรัชญาเมธี" ความหมายก็คล้ายๆกัน คือ หมายถึง ผู้ที่เป็นนักคิดทั้งหลาย แต่"คิด"ในที่นี้หมายความว่า คิดในสิ่งที่เป็นหลักการ มีเหตุมีผล และมีผู้คนยอมรับ มิใช่คิดเรื่อยเปื่อย เหมือนคนช่างฝัน อะไรทำนองนั้น

และ ผู้ที่จะเป็นนักปราชญ์ หรือ นักปรัชญาเมธีได้ ต้องเป็นผู้ที่คงแก่เรียนอย่างมาก มีความรู้ที่กว้างขวาง และมีหลักการที่แน่นอน มีคำพูดของนักปราชญ์ชาวจีนผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า...
"ผู้ที่จะเป็นปราชญ์ได้ ต้องอ่านตำราให้ได้หมื่นเล่ม และ เดินทางให้ได้หมื่นหลี้ ผู้นั้นจึงจะสมควรกับคำว่า ปราชญ์..."


ยุคสมัยแห่งปรัชญา
ปรัชญายุคดึกดำบรรพ์
ปรัชญายุคโบราณ
ปรัชญายุคกลาง
ปรัชญายุคใหม่
ก่อนที่มนุษย์จะมีการจดบันทึกเรื่องราว
เริ่มมีการหลักฐานบันทึกเรื่องราว
ประมาณตั้งแต่
ค.ศ.529 - 1500
ตั้งแต่ ค.ศ. 1500
เป็นต้นมา